เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง อธิบายว่า แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่าง ๆ
คำว่า แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดย
ปกติเป็นผู้เดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็น 100 คน 1,000 คน
100,000 คน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นหลายคน” ก็เป็นหลายคนได้
ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถกรูปเดียวแสดงเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น
คำว่า หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติ
เป็นหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียวแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นคนเดียว”
ก็เป็นคนเดียวได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านจุลปันถกหลายรูปแสดงเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น
[11] คำว่า แสดงให้ปรากฏก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ ไม่ปิดบังไว้ ทำให้
ไม่มีอะไรปิดบัง ให้เปิดเผยปรากฏก็ได้
คำว่า แสดงให้หายไปก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง
มิดชิดก็ได้
คำว่า ทะลุฝา ทะลุกำแพง ฯลฯ เหมือนไปในอากาศก็ได้ อธิบายว่า
ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อากาสกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้ว
อธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นที่ว่าง” ก็เป็นที่ว่างได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติไปในที่ไม่มีอะไรปิดบังกั้นไว้โดยไม่ติดขัด ฉะนั้น
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้ อธิบายว่า ท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วย
ญาณว่า “จงเป็นน้ำ” ก็เป็นน้ำได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินก็ได้ ท่าน
ผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้
เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :566 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 2. อิทธิกถา
คำว่า เดินไปบนน้ำ ฯลฯ เหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ อธิบายว่าท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงน้ำแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
“จงเป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกก็ได้
ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป
บนดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติเดินไปบนแผ่นดินโดย
แผ่นดินไม่แตก ฉะนั้น
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เป็น
ผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงอากาศแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จง
เป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ในกลางอากาศ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง
นอนบ้าง ในกลางอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น
[12] คำว่า ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือ
นอนก็ตาม นึกถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ” ก็มีในที่ใกล้มือได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นนั่งหรือนอน
ก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญ
แห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ เปรียบ
เหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติย่อมสัมผัสรูปอะไร ๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่
ใกล้ว่า “จงเป็นที่ใกล้” ก็เป็นที่ใกล้ได้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า “จงเป็นที่ไกล”
ก็เป็นที่ไกลได้ อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า “จงเป็นของน้อย” ก็เป็นของ
น้อยได้ อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า “จงเป็นของมาก” ก็เป็นของมากได้
ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพพจักขุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพพโสตธาตุ
ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :567 }